การบริหารจัดการโครงการ (Effective Project Management)
ทำไมโครงการดีๆ ถึงไม่ประสบความสำเร็จในการดำเนินการ จากการศึกษาพบว่าหลายกรณีสาเหตุไม่ได้มาจากด้านเทคนิค แต่มาจากการวางกรอบรูปแบบการบริหารโครงการและจัดการกิจกรรมต่างๆ ที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่ผู้บริหารองค์กรในทุกระดับ โดยเฉพาะท่านที่จะต้องรับบทบาทเป็นผู้จัดการโครงการ จำเป็นต้องเข้าใจองค์ประกอบที่สำคัญและกรอบแนวคิดในการบริหารจัดการโครงการที่เป็นระบบ ซึ่งจะส่งผลต่อการดำเนินการของกิจกรรมต่างๆ ในโครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกับการเน้นการเสริมสร้างคุณค่าของการดำเนินการโครงการ เช่น การบริหารจัดการให้โครงการสามารถเสร็จลุล่วงได้เร็วขึ้นกว่าแผนที่กำหนด ส่งผลให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้เร็วขึ้น หรือการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายของโครงการที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ต้นทุนของการดำเนินการธุรกิจต่ำลง ทำให้แข่งขันได้ง่ายขึ้น รวมไปถึงการเพิ่มคุณค่าของโครการ ส่งผลให้ความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียดีขึ้น
ดังนั้นนอกจากที่ผู้จัดการโครงการต้องให้ความสำคัญต่อการวางแผนการดำเนินการโครงการแล้ว ผู้จัดการโครงการจำเป็นต้องมีการวางกรอบการติดตามความคืบหน้าและการจัดการการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่จะเกิดขั้นระหว่างการดำเนินการโครงการให้มีประสิทธิภาพด้วย โดยต้องดำเนินการให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงการมีการประสานงานเชื่อมโยงกัน
Why good projects fail? In many cases, the problems are not about technical but rather about how project activities are carried out. The emphasis of Project Management for Executives is not only on how the project management process works, but more importantly, on why it works and how it can be effectively managed. Several managerial questions are also addressed including: How project activities should be planned in order to maximize project value? How can project progress be effectively monitored and controlled? How do project managers orchestrate the complex relations among team members, vendors, contractors, senior management, functional management, and customers?
The content of video clips on Project Management Series contains
- Project management approach in accomplishing limited duration tasks throughout the life cycle of a project
- Project planning and scheduling
- Effective approach for resource allocation
- Key issues affecting project interruption or failure
- Project risks
- Project organization and team
ที่ผ่านมาเราได้ดำเนินการจัดฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการด้านการบริหารจัดการโครงการ ให้กับหน่วยงานที่สนใจในลักษณะ in-house training โดยเราสามารถปรับเนื้อหาให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และกรอบเวลาที่แต่ละองค์กรต้องการได้
กลุ่มเป้าหมาย
- ผู้ที่กำลังจะได้รับหมอบหมายให้เป็นผู้จัดการโครงการ
- ผู้จัดการโครงการที่ต้องการปรับแนวทางการบริหารจัดการโครงการให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
- สมาชิกของโครงการ ที่ต้องการยกระดับความสามารถ เพื่อมุ่งเป็นผู้จัดการโครงการในอนาคต
- ผู้ที่สนใจหลักการบริหารโครงการ
ที่ผ่านมาเราได้ดำเนินการจัดฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการด้านการบริหารจัดการโครงการ ให้กับหน่วยงานที่สนใจในลักษณะ in-house training โดยเราสามารถปรับเนื้อหาให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และกรอบเวลาที่แต่ละองค์กรต้องการได้
มีประสบการณ์การบริหารจัดการโครงการกว่า 20 ปี ทั้งโครงการวิศวกรรม (Engineering projects) โครงการพัฒนาธุรกิจ (Business Development Projects) โครงการวิจัยและพัฒนา (R&D projects) โครงการที่ปรึกษาด้านการจัดการ (Management Consulting projects) โดยประสานงานโดยตรงกับผู้บริหารระดับสูงขององค์กรและทีมโครงการ ทำมีความเข้าใจบริบทและข้อจำกัดที่เกิดขึ้นของในแต่ละประเภทของโครงการ
รองศาสตราจารย์ ดร. ณัฐสิทธิ์ เกิดศรี ดำรงตำแหน่งอาจารย์ด้านการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล และเคยดำรงตำแหน่งรองคณบดีงานวิชาการ และประธานหลักสูตรสาขาการจัดการและกลยุทธ์
ในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ดร. ณัฐสิทธิ์ มีประสบการณ์ทำงานกับฝ่ายวิจัยและพัฒนา (R&D) ของบริษัท Intel Corp. ในรัฐโอเรกอน ประเทศสหรัฐอเมริกา ในตำแหน่งนักพัฒนาเทคโนโลยีและผู้ประสานงานโครงการวิจัยและพัฒนา (technology developer and R&D program coordinator) และก่อนหน้านี้เคยดำรงตำแหน่งวิศวกรโครงการของบริษัท ช. การช่าง (มหาชน) ในโครงการสร้างทางด่วนกรุงเทพขั้นที่ 2 ปัจจุบัน ดร. ณัฐสิทธิ์ เป็นที่ปรึกษาให้กับหลายองค์กรในการวางแผนการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น บริษัทในเครือซีเมนต์ไทย, บริษัทในกลุ่ม ปตท, บริษัทสยามแม็คโคร, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช), สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน) เป็นต้น
ด้านงานวิจัย ดร. ณัฐสิทธิ์ มีผลงานวิจัยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ทั้งในวารสารและการประชุมวิชาการนานาชาติ ดร. ณัฐสิทธิ์ เป็น Associate Editor ของ International Journal of Innovation and Technology Management และ Editorial Board Member of IEEE Transactions on Engineering Management ปัจจุบัน ดร. ณัฐสิทธิ์ เป็นสมาชิกของ Omega Rho International Honor Society, Phi Kappa Phi, IEEE Society และถูกคัดเลือกให้อยู่ในฐานรายชื่อ Marquis Who’s Who in the World